1. ตรวจสอบประเภทหัวปลั๊กรถยนต์ไฟฟ้า
ตรวจสอบหัวเสียบของรถยนต์ไฟฟ้า ว่าเป็นประเภทไหนเพื่อที่จะได้ติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนตืไฟฟ้าให้ตรงกับรถ โดยทั้่วไปจะแบ่งตามประเทศที่ผลิต
Type 1 สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าญี่ปุุ่น และอเมริกา เช่น Nissan Leaf Tesla ที่จำหน่ายในอเมริกา
Tyep 2 สำหรับรถไฟฟ้ายุโรป เช่น Benz BMW Volvo Porche Mini
Type GB/T สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าจีน
ส่วนรถยนต์ไฟฟ้าที่ขายในประเทศไทย โดยส่วนมากเป็น Type 2 เนื่องจากเป็นมาตรฐานที่หน่วยงานรัฐในไทยได้กำหนดไว้ แต่อาจมีหัวชาร์จประเภทอื่นประปลาย เช่น Nessa Leaf เป็น Type1 หรือ รถยนต์ไฟฟ้านำเข้า ส่วนหัวชาร์จ DC ในประเทศไทยจะมีอยู่ 2ชนิดคือ CCS2 และ CHAdeMO แต่ส่วนมากจะเป็น CCS2
2. ตรวจสอบขนาด On-Board Charger
On-Board Charger คือ ระบบควบคุมการดึงไฟฟ้า ที่ตัวรถจะสั่งการไปยังเครื่องชาร์จ EV Charger ขึ้นอยู่กับยี่ห้อและรุ่นของรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจะมีผลต่อเวลาในการชาร์จไฟของรถยนต์ไฟฟ้า ทั้งนี้ควรเลือกซื้อเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ให้เหมาะสมกับรุ่นรถเพื่อที่จะเตรียมขนาดของสายไฟและอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับขนาดของเครื่องชาร์จ นั้นๆด้วย
เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าจะชาร์จเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับกำลังไฟของเครื่องชาร์จและบอร์ดในรถยนต์ไฟฟ้า (On Board Charger) ว่ารับกำลังไฟได้เท่าไหร่ด้วย บอร์ดในรถยนต์ไฟฟ้าจะมีสองตัวคือ AC และ DC สำหรับการชาร์จทั้งสองระบบ
ตัวอย่าง 1 Ora Good Cat หรือ MG ZS EV AC On Board Charger อยู่ที่ 6.6 kW/h แปลว่ารถยนต์ไฟฟ้าจะรับไฟสูงสุดได้แค่ 6.6 kW ต่อชั่วโมงเท่านั้นจึงเลือกติด EV Charger ขนาด 7.4 kW ก็เพียงพอแล้ว เพราะแม้ว่าเราจะติดเครื่องชาร์จขนาด 11 kW หรือ 22 kW รถของเราก็ดึงไฟได้แค่ 6.6 kW อยู่ดี
ตัวอย่างที่ 2 หากเป็น Audi e-tron GT ที่สเปครองรับการชาร์จไฟฟ้า AC Onboard Charger สูงสุด 22 kW ก็สามารถเลือกติดตั้ง EV Charger ขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 22 kW ได้เลย เพื่อให้สามารถชาร์จไฟเต็มได้อย่างรวดเร็วตามความสามารถ แต่ถ้าเลือกขนาดเครื่องชาร์จที่เล็กกว่านั้นก็ใช้งานได้เช่นกัน แต่จะต้องใช้เวลาชาร์จนานขึ้น
3. ตรวจสอบขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า
มิเตอร์ไฟบ้านทั่วไปที่สร้างนานแล้ว มักจะอยู่ที่ Single-Phase 5(15)A หรือ Single-phase15(45)A ซึ่งเป็นกำลังไฟไม่เพียงพอต่อการใช้งานกับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า กระจะติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในบ้านได้อย่างเสถียร และได้มาตรฐานควรมีขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าที่แนะนำ คือ Single-Phase 30(100)A หรือ 3-Phase 15(45)A จึงจะเพียงพอ
4. เลือกจุดติดตั้ง
การเลือกจุดติดตั้งเครื่อง่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่เหมาะสม
• ระยะจากจุดติดเครืองชาร์จจนถึงที่เสียบตัวรถไม่ควรเกินระยะ 5เมตร เนื่องจากสายชาร์จโดยทั่วไปอยู่ที่ 5-7เมตร เท่านั้น
• เลอกจุดที่สามารถเดินสายไฟจากเครื่องชาร์จไปยังตู้เมนไฟฟ้าในบ้านที่สะดวก ไม่ควรอยู่ห่างไกลเพราะจะทำให้เสียค่าเดินสายไฟในราคาที่สูง
• เลือกจุดที่มีหลังคาเพื่อป้องกันฝนและแสงแดด
5. เลือกขนาดเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า
โดยเครื่อง EV Charger สำหรับติดตั้งในบ้านจะเป็นเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบ AC คือกระแสไฟสลับ ซึ่งจะมี 2 ขนาดที่นิยมในปัจจุบันคือ ขนาด 3.6 kW และ 7.2 kW เมื่อติดตั้งกับไฟบ้านที่มีขนาดมิเตอร์ต่างกัน เช่น 1 เฟส กับ 3 เฟส ก็จะให้กำลังไฟขนาดที่แตกต่างกัน
ตัวอย่าง เช่น
• ขนาด Output 3.6 kW ใช้กำลังไฟ 16A ติดตั้งกับไฟบ้าน 1 เฟส ให้กำลังไฟ 3.61 = 3.6 kW
• ขนาด Output 3.6 kW ใช้กำลังไฟ 16A ติดตั้งกับไฟบ้าน 3 เฟส ให้กำลังไฟ 3.63 = 11 kW
• ขนาด Output 7.2 kW ใช้กำลังไฟ 32A ติดตั้งกับไฟบ้าน 1 เฟส ให้กำลังไฟ 7.21 = 7.2 kW
• ขนาด Output 7.2 kW ใช้กำลังไฟ 32A ติดตั้งกับไฟบ้าน 3 เฟส ให้กำลังไฟ 7.23 = 22 kW
เราก็ดูจาก On Board Charger ของรถยนต์ไฟฟ้าแต่ละรุ่นว่าโหลดกำลังไฟที่เท่าไหร่ แล้วนำมาเลือกซื้อเครื่องชาร์จรถยต์ที่ให้กำลังไฟใกล้เคียงกัน (หน่วย kW) จากนั้นดูว่าเครื่องชาร์จนี้ใช้กำลังไฟกี่แอมแปร์ (หน่วย A) แล้วจึงพิจารณาร่วมกับจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ของบ้านเช่น แอร์, ตู้เย็น ว่าต้องเปลี่ยนมิเตอร์ไฟหรือไม่
เมื่อได้รู้จักกับเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ากันแล้วว่าควรเลือกแบบไหน และก่อนติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าจะต้องศึกษาและดูอะไรบ้าง ทีนี้มาดูกันว่า "เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า" ที่ติดตั้งภายในบ้านมีรุ่นไหนยี่ห้อไหนที่น่าสนใจและมีคุณภาพและมาตรฐานที่ดี